วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรื่อง การเครื่อนที่ในหนึ่งมิติและสองมิติ


เรื่อง การเครื่อนที่ในหนึ่งมิติและสองมิติ
-          ปริมาณทางฟิสิกส์





ปริมาณทางฟิสิกส์   แบ่งออกเป็น 2  ลักษณะคือ
     ปริมาณสเกลลาร์ 
     ปริมาณเวกเตอร์
                    ปริมาณสเกลลาร์  คือ ปริมาณที่กำหนดแต่เพียงขนาดก็มึความหมาย  ตัวอย่างของปริมาณสเกลลาร์ ได้แก่ จำนวนนับของสิ่งของโดยทั่วไป   ระยะทาง  เวลา  พื้นที่  งาน  พลังงาน  กระแสไฟฟ้า  เป็นต้น   การคำนวณปริมาณสเกลลาร์    สามารถดำเนินการ บวก ลบ คูณ หาร เหมือนกับการคำนวณในระบบจำนวนทั่ว ๆ ไป  จำนวน 0 ของปริมาณสเกลลาร์ เป็น 0 อ้างอิง ไม่ได้หมายความว่ามีค่าเป็นศูนย์จริง  เช่น อุณหภูมิ 0 เซลเซียส ไม่ได้หมายความว่าวัดอุณหภูมิไม่ได้  แต่กำหนดให้อุณหภูมิขณะนั้นเป็นศูนย์ และอุณหภูมิ -1 เซลเซียสเป็นอุณหภูมิที่ต่ำกว่าศูนย์เซลเซียสอยู่ 1 เซลเซียส เป็นต้น ปริมาณสเกลลาร์ที่เป็นลบจึงเป็นปริมาณที่มีค่าน้อยกว่าศูนย์
                    ปริมาณเวกเตอร์ คือ ปริมาณที่ต้องกำหนดทั้งขนาดและทิศทางจึงจะมีความหมาย   ตัวอย่างของปริมาณเวกเตอร์ ได้แก่  แรง  การกระจัด  ความเร็ว  ความเร่ง   เป็นต้น   เนื่องจากปริมาณเวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง  การคำนวณจึงต้องมีวิธีการที่แตกต่างออกไปจากการคำนวณในระบบจำนวน   ไม่สามารถดำเนินการบวก ลบ คูณ หารแบบธรรมดาได้   จึงต้องใช้วิธีการคำนวณเวกเตอร์โดยเฉพาะ    จำนวน 0 ในปริมาณเวกเตอร์ เป็นปริมาณที่ไม่มีค่าจริง ๆ  ปริมาณเวกเตอร์จึงไม่มีค่าเป็นลบ    เครื่องหมายในปริมาณเวกเตอร์ใช้บอกทิศทางของเวกเตอร์   เวกเตอร์ที่มีเครื่องหมายเหมือนกันทิศทางเดียวกัน  เวกเตอร์ที่มีเครื่องตรงกันข้ามทิศทางตรงกันข้าม
                                      


-          ปริมาณเวกเตอร์








 1. ปริมาณสเกลาร์ (scalar quantity)
เป็นปริมาณที่บอกให้ทราบขนาดเพียงอย่างเดียว เช่น ความสูง น้ำหนัก เป็นต้น
        2. ปริมาณเวกเตอร์ (vector quantity)
เป็นปริมาณที่บอกให้ทราบทั้งขนาดและทิศทาง เช่น แรงและโมเมนตัม ความเร็ว ความเร่ง เป็นต้น
ปริมาณเวกเตอร์
        ปริมาณเวกเตอร์ เขียนแทนได้ด้วย ส่วนของเส้นตรงที่ระบุทิศทาง (derected line segment)
โดยใช้ความยาวของส่วนของเส้นตรงแทนขนาดของเวกเตอร์ และใช้ลูกศรในการบอกทิศทางของเวกเตอร์ ดังรูป








-          การเคลื่อนที่ของวัตถ

-          ระยะทาง
-          การกระจัด
-          อัตราเร็ว
-          ความเร็ว
-          อัตราเร่ง
-          ความเร่ง
-          การหาความชันของกราฟ
-          กราฟความสัมพันธ์ระหว่าง s-t, v-t และ a-t
-          การหาความเร็วและความเร่งจากกราฟ
-          กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว(v) และ เวลา (t)
-          สมการการเคลื่อนที่ในแนวตรงด้วยความเร่งคงที่
-          สมการการเคลื่อนที่แนวดิ่งด้วยความเร่งคงที่
-          การคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุภายใต้แรงดึงดูดของโลก
-          ความเร็วสัมพัทธ์(Relative Velocity)
-          การเคลื่อนที่ในสองมิติและสามมิติ
-          เวกเตอร์ตำแหน่งและเวกเตอร์ความเร็วในสองมิติ
-          ตัวอย่างโจทย์ เรื่องการเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติและสองมิติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น